วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560

นิราศเมืองแกลง

             

นิราศเมืองแกลง 

                 นิราศเมืองแกลง สุนทรภู่แต่งเมื่อครั้งเดินทางไปเยี่ยมบิดาที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง ในปี พ.. 2349

            ผู้แต่ง สุนทรภู่ เดิมมีชื่อว่า ภู่ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.. 2329 ที่เมืองแกลง มีอุปนิสัยไม่ชอบทำงาน ติดเหล้า สุนทรภู่มีภรรยาถึง 2 คนด้วยกันชื่อ นิ่ม กับ จัน ต่อมาในรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่เป็นคนที่โปรดปรานและได้รับตำแหน่งเป็น ขุนสุนทรโวหาร ในกรมอาลักษณ์ เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 2 ชีวิตสุนทรภู่เริ่มตกต่ำ ถูกถอดออกตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร จากนั้นสุนทรภู่ได้มาอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ เพราะด้วยความปรานีของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ คงได้บวชเป็นพระที่วัดนั้นด้วย เมื่อพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ สิ้นพระชนม์ลง ชีวิตของสุนทรภู่ก็ตกต่ำลงอีกด้วย ต้องร่อนเร่ขายกลอนเลี้ยงชีพ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงแต่งตั้งสุนทรภู่เข้ารับราชการอีกเป็นกรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีตำแหน่งเป็นสุนทรโวหารสูงกว่าเดิมสุนทรภู่รับราชการอยู่กับรัชกาลที่ 4 เป็นเวลาถึง 5 ปี ก็ถึงกรรมใน พ.. 2398 มีอายุได้ 70 ปี

            ทำนองแต่ง  แต่งเป็นกลอนนิราศ

            วัตถุประสงค์ในการแต่ง  แต่งเพื่อบันทึกการเดินทางและแสดงความรู้สึกนึกคิดของตน

            นิราศเมืองแกลง   มีความยาว 496 คำกลอน เป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่และเป็นนิราศที่ยาวที่สุดของสุนทรภู่ สุนทรภู่เขียนเมื่อเดินทางไปพบบิดาซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง ภายหลังที่พ้นโทษเพราะไปรักใคร่กับแม่จันทร์สาในพระราชสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอนุรักษ์ทเวศร์ กรมพระราชวัง เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตเมื่อปีพุทธศักราช 2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงปล่อยนักโทษตามโบราณราชประเพณี


            สาระสำคัญ  พรรณนาถึงการเดินทางไปบ้านกร่ำเมืองแกลง เพื่อเยี่ยมบิดา โดยไปทางเรือกับศิษย์สองคน คือ น้อย กับพุ่ม มีนายแสงเป็นคนนำทางไป การเดินทางครั้งนี้ผ่านสถานที่ต่างๆ มากมาย ไปขึ้นบกที่ตำบลบางปลาสร้อย เมืองชลบุรี เดินทาต่อไปจนถึงบ้านกร่ำ อยู่ที่นั้น สุนทรภู่ป่วยต้องรอรักษาให้หายดีเสียก่อนจึงกลับ



ตัวอย่าง

            สำนวนจองหองพองขน
                        โอ้คลองขวางทางแดนแสนโสทก               ดูบนบกก็แต่ล้วนลิงแสม
            เลียบตลิ่งวิ่งตามชาวเรือแพ                                   ทำลอบแลหลอนหลอกตะคอกคน
            คำโบราณท่านผูกถูกทุกสิ่ง                                    เขาว่าลิงจองหองมันพองขน
            ทำหลุกหลิกเหลือกลานพาลุกลน                           เขาด่าคนจึงว่าลิงโลนลำพอง

            พรรณนาความเป็นไปของผู้คนแถวนั้น
                        ถึงบางพลีมีเรือนอารามพระ                      ดูระกะดาษทางไปกลางทุ่ง
            เป็นเลนลุ่มลึกเหลวเพียงเอวพุง                             ต้องลากจูงจ้างควายอยู่รายเรียง
            ดูเรือนแพแออัดอยู่ยัดเยียด                                    เช้าเบียดเสียดแทรกกันสนั่นเสียง
            แจวตะกูดเกะกะประกะเชียง                                 บ้างทุ่มเถียงโดนดุนกันวุ่นวาย
                        พอฟ้าคล้ำค่ำพลบลงหรบรู่                        ยุ่งออกฉู่ชิงพลบตบไม่ไหว
            ได้รับรองป้องกันเพียงควันไฟ                               แต่หายใจไม่ค่อยออกด้วยอบอาย
            โอ้ยามยากจากเมองแล้วลืมมุ้ง                               มากรำยุงเวทนาประดาหาย
            จะกวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย                                   แม้เจ้านายไม่ใช้แล้วไม่มา

            พรรณนาตามสิ่งที่เห็น
                        ถึงบ้านแลงทางแห้งเห็นทุ่งกว้าง                เฟือนหนทางทวนทบตลบหา
            บุกระแวงแฝกแขมกับหญ้าคา                                จนแดดกล้ามาถึงย่านบ้านตะพง
            มีเคหาอารามงามระรื่น                                        ด้วยพ่างพื้นพุ่มไม้ไพรระหง
            ตัดกระพ้อห่อได้ทุกไร่กง                                      ที่หลีกลงทางทุ่งกระทอลอ

            พรรณนาวิถีชีวิตชาวบ้าน
                        ถึงศาลเจ้าอ่าวสมุทรที่สุดหาด                    เลียบลีลาศขึ้นตามช่องที่คลองขวาง
            ถึงบ้านแกลงลัดบ้านไปย่านกลาง                           เห็นฝูงนางสานเสื่อนั้นเหลือนั้นเหลือใจ
            แต่ปากพลอดมือสอดขยุกขยิก                                จนมือหงิกงอแงไม่แบได้
            เป็นส่วยบ้ายสานส่งเข้ากรุงไกร                             เด็กผู้ใหญ่ทำเป็นไม่เว้นคน

            ชมดนตรี
                        มโหรีปี่ไฉนจับใจแจ้ว                              วิเวกแว่วกล่องโยนตะโพนกระหึ่ม
            ทุกที่ทับสัปบุรุษก็พูดพึม                                       รุกขาครื้มครอบแสงพระจันทร
            เสนาะเสียงเทศนาปุจฉาถาม                                 ในสนามเสียงสนั่นเนินสังขร
            เป็นวันบัณรสีรวีวร                                              พระจันทรทรงกลดรจนา

            ชมความงามในเวลากลางคืน
                        พระจันทร์ส่องต้องยอดมณฑปสุก              ในหน้ามุขเงางามอร่ามฉาย
            นกบินกรวดพรวดราดประกายพราย                       พลุกกระจายช่อช่วงดังดวงเดือน
            ดอกไม้ร้องป้องปีกสนั่นป่า                                   ในแหล่งหล้าใครไม่มีเสมอเหมือน
            แต่คนเดินพัลวันออกฟั่นเฟือน                                จนจันทร์เคลื่อนรถคล้อยลับเมฆา   

        
คุณค่าของนิราศเมืองแกลง

1.       ในทางอักษรศาสตร์ พรรณนาเกี่ยวกับธรรมชาติได้ดีมาก แต่อย่างอื่นๆ ยังไม่ดีนัก เพราะเป็นนิราศเรื่องแรกที่แต่ง
2.       ในทางวิถีชีวิต ได้แสดงถึงความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของผู้คนสมัยนั้น

3.       ในทางคติธรรม ได้ให้แง่คิด คติธรรม คำสอนต่างๆ ไว้พอสมควร

วิเคราะห์นิราศเมืองแกลง

            ช่วงเวลาของการแต่ง 
                                  สุนทรภู่แต่งนิราศเมืองแกลงเป็นงานนิราศเรื่องแรก ก่อนหน้านี้สันนิฐานว่าได้แต่งวรรณคดีนิทานเรื่อง โคบุตร ก่อนแล้ว เพราะปรากฏคำขึ้นต้นนิทานโคบุตรว่า

                                    แต่ปางหลังครั้งว่างพระศาสนา
                         เป็นปฐมสมมตินิทานมา
                        ด้วยปัญญายังประวิงทั้งหญิงชาย
                        ฉันชื่อภู่รู้เรื่องประจักษ์แจ้ง
                        จึงแสดงคำคิดประดิษฐ์ถวาย
                        ตามสติริเริ่มเรื่องนิยาย
                        ให้เพริศพรายพริ้งเพราะเสนาะกรรณ

            คำว่า เป็นปฐมสมมตินิทานเป็นคำชี้บอกว่า โคบุตร เป็นนิทานเรื่องแรกที่สุนทรภู่แต่ง

                คำว่า แสดงคำคิดประดิษฐ์ถวายเป็นคำชี้บอกว่า ตั้งใจแต่งเพื่อถวายเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เท่าที่รวบรวมได้มีทั้งหมด 8 เล่มสมุดไทย ไม่แน่ใจว่าจะแต่งรวดเดียวทั้ง 8 เล่ม หรือแต่งเป็นหลายครั้งหลายคราว แต่เรื่องโคบุตรนี้แต่งไม่จบเรื่อง
            ดังนั้น จะเห็นว่า สุนทรภู่เริ่มเป็นนักเลงกลอน บอกสักวาเขียนเพลงยาว (จดหมายรัก ซึ่งสมัยนั้นนิยมแต่งเป็นกลอน) ตั้งแต่เริ่มแตกเนื้อหนุ่ม อายุยังไม่ถึง 20 ปี และมีชื่อเสียงเพียงพอที่จะมีคนมาขอศึกษาทางกลอนเป็นลูกศิษย์เพราะเมื่อเดินทางไปเมืองแกลงนี้มีลูกศิษย์ติดตามไปด้วย 2 คน คือ น้อย กับ พุ่ม
            นิราศเมืองแกลงเป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่และแต่งเมื่ออายุยังน้อย เป็นหนุ่มเต็มตัว ประสบการณ์ชีวิตยังไม่มีอิทธิพลต่อการเขียนมากนัก จึงมีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก ผู้อ่านจะพบความเป็นสุนทรภู่อย่างแท้จริง จากการวิเคราะห์นิราศเรื่องนี้ว่ามีอารมณ์ถวิลหาความรักอย่างรุนแรงมั่นอยู่ที่จัน ซึ่งอาจเป็นหญิงคนแรกที่รักมาก มีหลายตอนที่กล่าวถึงจัน

                        - จะมีคู่มิได้อยู่ประคองเชย
            ต้องละเลยดวงใจไว้ไกลตา
                        " ฉันพลัดพรากจากจรเพราะร้อนจิต
            ใช่จะคิดอายอางขนางหนี
                        ให้นิ่มน้องครองรักไว้สักปี”……………….

                ข้อความนี้น่าจะเป็นแง่มุมให้คิดว่า สุนทรภู่ครองรักกับจันแต่งยังไม่ได้แต่งงานกันตามประเพณี และคงมีอุปสรรคขัดข้องอยู่ สุนทรภู่จึงขอเวลาจันไว้สักปี

                        ยิ่งอาลัยใจมาอยู่ที่คู่ครอง
            แม้นแม่น้องได้มาเห็นเหมือนเช่นนี้
            จะแอบอิงวิงวอนชะอ้อนถาม
            ตำแหน่งนามเกาะแก่งแขวงวิถี
            ได้เชยชื่นรื่นรสสุมาลี
            แล้วจะชี้ให้แม่ชมยมนา
           
            บทกลอนบทนี้ข้างต้นนี้ได้สะท้อนอารมณ์ถวิลหาอย่างชัดเจนแสดงถึงความรักที่มีต่อหญิงอย่างแท้จริง สิ่งใดที่แปลกตาน่าชมตนเองได้ชมแล้ว ก็คิดอยากให้หญิงคนรักของตนได้ชมบ้าง และบทต่อไปนี้มีควาไพเราะอ่อนหวานของความรักอีกเช่นกัน

                        ไหนตัวพี่นี้จะชมทะเลหลวง
            จะชมดวงนัยเนตรของเชษฐา
                โอ้อาลัยไกลแก้วกานดามา
            กลั้นน้ำตามิใคร่หยุดสุดระกำ
            เสียดายนักภัคินีของพี่เอ๋ย
            ยังชื่นเชยชมชิมมิอิ่มหนำ
            มายากเย็นเห็นแต่ผ้าแพรวดำ
            ได้ห่มกรำอยู่กับกายไม่วายตรอม

            ผ้าแพรวดำที่กล่าวถึงนี้เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่จันมอบให้สุนทรภู่ไว้เป็นของที่ระลึกแนบกาย หญิงชั้นผู้ดีสมัยนั้นนิยมห่มผ้าแพรทับผ้าสไบอีกชั้นหนึ่ง และมักเป็นแพรดำ เป็นผ้ามาจากเมืองจีนในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนที่สุนทรภู่แต่งก็กล่าวถึงนางวันทองห่มผ้าแพรดำไว้ในตอนท้ายว่า

                        - พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง
            มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน
            พอเป็นค่าผ้าห่มที่ชมแทน
            อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา
                       -  ได้แนบหมอนอ่อนอุ่นให้ฉุนชื่น
            ระรวยรื่นรสลำดวนเมื่อจวนดึก
            ทั้งหอมแพรดำร่ำยิ่งรำลึก
            ทรวงระทึกทุกทุกคืนสะอื้นใจ
               
                จันของสุนทรภู่คงเป็นหญิงขี้หึง อารมณ์ร้ายจนสุนทรภู่เองทั้งรักทั้งแหยง ๆ อยู่ ได้เอ่ยถึงไว้หลายตอนดังต่อไปนี้

                        ขอให้น้องครองสัตย์ซึ่งปฏิญาณ
            พอควรคู่รับรู้รักประจักษ์จิต
            ได้ชื่นชิดชมน้องประคองสม
            ถึงต่างแดนแสนไกลไพรพนม
            ได้ลอยลมลงมาแอบแนบอุรา
            อย่ารู้จักผลักพลิกทั้งทั้งหยิกข่วน
            แขนแต่ล้วนรอยเล็บเจ็บนักหนา
            ให้แย้มยิ้มพริ้มพร้อมน้อมวิญญาณ
            แล้วก็อย่าขี้หึงตะบึงตะบอน


และอีกตอนหนึ่ง

                        ถึงเจ็บไข้ไม่ตายไม่คลายรัก
            มีแต่ลักลอบนึกรำลึกถึง
            ช่วยยิ้มแย้มแช่มชื่นอย่ามึนตึง
            ให้เหือดหึงลงเสียบ้างจงฟังคำ

            สุนทรภู่ได้เขียนรำพันถึงความรักที่มีต่อจันไว้อย่างลึกซึ้งคือ

                        พี่อุ้มทุกข์บุกป่ามหารณพ
            มาหมายพบพูดความกับงามขำ
            อย่าบิดเบือนเชือนช้าพาระกำ
            อยู่แต่กร่ำตรอมกายมาหลาย

เดือน
            ได้ดูงามตามทางที่นางอื่น
            ก็หลายหมื่นเหยียบแสนไม่แม้นเหมือน
            ไม่มีสู้คู่ควรกระบวนเบือน
            เหมือนแม่เพื่อนชีพชายจนปลายแดน         




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นิราศเมืองแกลง

              นิราศเมืองแกลง                    นิราศเมืองแกลง สุนทรภู่แต่งเมื่อครั้งเดินทางไปเยี่ยมบิดาที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จั...