วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

คุณค่าทางคติชนวิทยา

คุณค่าทางคติชนวิทยา

            คติชนวิทยา คือ เรื่องราวที่บอกถึงความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และกลุ่มชน ในนิราศเมืองแกลงมีอยู่หลายตอนดังนี้

              1.โอ้ธานีศรีอยุธยาเอ๋ย นึกจะเชยก็ได้ชมสมประสงค์ และคิดถึงน้องหมองใจอาลัยลาญ แม้นแจ้งการว่าพี่จากอยุธยา บทกลอนสองคำนี้ชี้ว่า คนไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงเรียกเมืองหลวงของตนว่า อยุธยา คำว่าอยุธยาที่นี้หมายถึงกรุงเทพฯ นั้นเอง
                2.การเสพกัญชา ยาฝิ่นในสมัยนั้น เป็นเรื่องไม่ผิดกฎหมาย นายแสงที่อาสานำทางให้สุนทรภู่นั้นเป็นคนติดกัญชา สุนทรภู่เขียนไว้หลายแห่งได้แก่

-สงสารแสงแสนสุดเมื่อหยุดพัก
เฝ้านั่งชักกัญชากับตาสัง
- ทำซมเซอะเคอะคะมาปะเขา
แต่โดยเมากัญชาจนตาขวาง
- เห็นนายแสงเป็นผู้ใหญ่ก็ใจหาย
นังพยุงตุ้งก่านัยน์ตาลาย
เห็นวุ่นวายสับสนก็ลนลาน
- นายแสงหายคลายโทโสที่โกรธา
          ชัญกัญชานั่งกริ่มยิ้มละไม

                3.วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน สุนทรภู่เป็นชาววังมาตั้งแต่เกิด มีความละเอียดละเมียดละไม ประณีตไปนความเป็นอยู่ไปทุก ๆ อย่างจึงมองชีวิตชาวบ้านเป็นอีกระดับหนึ่งและวางตนเหนือชาวบ้าน ซึ่งจะไปกล่าวหาว่าท่านเป็นคนไม่ติดดินก็ไม่ถูกนัก เพราะตลอดชีวิตท่านคลุกคลีอยู่กับชาววัง ท่านจึงรับไม่ได้กับอาหารการกิน ความเป็นอยู่ คำพูด คำจา ผู้หญิง ธรรมชาติ สภาพแวดล้อม สภาพบ้านเมือง และแม้แต่การประกอบการงาน ท่านก็เห็นเป็นของแปลก จะว่าท่านดูถูกชาวบ้านก็ไม่เชิงนัก แต่ดูเหมือนท่านจะเห็นว่าเป็นคนละพวกกับท่านมากกว่า พอจะวิเคราะห์เป็นประเด็นได้ดังนี้

            3.1 การกิน ท่านกล่าวถึงอาหารการกินไว้ในบทนิราศนี้หลายตอนได้แก่

                                เขาหุงหาอาหารให้ตามจน
                   โอ้ยามยลโภชนาน้ำตาคลอ
                    จะกลืนข้าวคราวโศกในทรวงเสียว
                 เหมือนขืนเคี้ยวกรวดแกลบให้แสบคอ
                 ต้องเจือน้ำกล้ำกลืนพอกลั้วคอ
                 กินแต่พอดับลมด้วยตรมใจ

                                      -จะเคี้ยวข้าวตะละคำเอาน้ำเจือ
                 พอกลั้วเกลื้อกล้ำกลืนค่อยชื่นใจ
 -พอเวลาสายัณห์ตะวันชาย
                 ได้กระต่ายตะกวดกวางมาย่างแกง
                 ทั้งแย้บึ้งอึ่งอ่างเนื้อค่างคั่ว
                 เขาทำครัวครั้นไปปะขยะแขยง
                 ต้องอดสิ้นกินแต่ข้าวกับเต้าแตง

                            -อยู่บุรินกินสำราญทั้งหวานเปรี้ยว
                   ตั้งแต่เที่ยวยากไร้มาไพรศรี
                   แต่น้ำตาลมิได้พานในนาภี
                   ปัถวีวาโยก็หย่อนลง

                3.2 ความเป็นอยู่ ชะรอยในวังนั้นคงไม่ค่อยได้ประกอบอาชีพทำมาหากินอะไรเป็นล่ำเป็นสัน จึงมองเห็นว่าคนที่ทำการต่างๆ นั้นลำบากลำบน เช่น

- แล้วไปชมกรมการบ้านดอนเด็จ
                    ล้วนเลี้ยงเป็ดหมูเนื้อดูเหลือเข็ญ
                    ยกกระบัตรคัดช้อนทุกเช้าเย็น
                    เมียที่เป็นท่านผู้หญิงนั่งปิ้งปลา

               
                การประกอบการงานที่กล่าวถึงนั้นน่าสนใจ ได้แก่ ถีบกระดานเก็บหอย ดังบทกลอนว่า

                            - อันนารีที่ยังสาวพวกชาวบ้าน
                    ถีบกระดานถือตะกร้าเที่ยวหาหอย
                    ดูแคล่วคล่องคล่องแล่นแฉลบลอย
                    เอาขาห้อยทำเป็นหางไปกลางเลน
                    อันพวกเขาชาวประโมงไม่โหย่งหยิบ
                    ล้วนตีนถีบปากกัดขัดเขมร
                     จะได้กินข้าวเช้าก็ราวเพล
                     ดูจัดเจนโลดโผนในโคลนตม

            ทำน้ำปลา ชาวบ้านจะทำน้ำปลา หน้าปลาชุมตักปลาขึ้นมาได้ทีละถัง ๆ เอาใส่โอ่งเอาเกลือหมักทิ้งไว้ทำน้ำปลา กลิ่นรุนแรงมาก จึงมักชุมนุมทำกันในที่ ๆ ห่างบ้าน บทกลอนว่า

                                     -ถึงปากช่องคลองกรุ่นเห็นคลองกว้าง
                      มีโรงร้างเรียงรายชายพฤกษา
                      เป็นชุมรุมหน้านำเขาทำปลา
                      ไม่รอรารีบเดินดำเนินพลาง


            งานสานสื่อ
                             -ถึงบ้านแกลงลัดบ้านไปย่านกลาง
                       เป็นฝูงนางสารเสื่อนั้นเหลือใจ             
                       แต่ปากพลอดมือสอดขยุกขยิก
                       จนมือหงิกงอแงไม่แบได้
                       เป็นส่วยบ้านสานส่งเข้ากรุงไกร
                       เด็กผู้ใหญ่ทำเป็นไม่เว้นคน


                3.3 รูปลักษณ์ของชาวบ้านในสายตาของสุนทรภู่ ชาวบ้านดูไม่ดีเลย เช่นการพูด

                             -ถามราคาพร้าขวานจะวานซื้อ
                        ล้วนอออือเอ็งกะกูกะหนูกะหนี
                        ทีคะขาคำหวานนานนานมี
                        เป็นว่าขี้คร้านฟังแต่ซังตาย

                               -เห็นสาวสาวชาวไร่เขาไถที่
                          บ้างพาทีอือเออเสียงเหนอหนอ
                          แลขี้ไคลใส่ตาบเป็นคราบคอ
                          ผ้าห่มห่อหมากแห้งตาแบงมาน

            สุนทรภู่ไม่เคยมองว่าสาวชาวบ้านสวยงามเลย เพราะรสนิยมของท่านคือชาววัง เช่น

                                 -ดูรูปร่างนางบรรดาแม่ค้าเคียง
                         เห็นเกลี้ยงเกลี้ยงกล้องแกล้งเป็นอย่างทาง

                                   -นางชาวนาก็ไม่น่าจะชื่นใจ
                          คราบขี้ไคลคร่ำคร่าดังทาคราม
                          อันนางในนคราถึงทาสี
                          ดีกว่านางทั้งนี้สักสองสาม

                                     -ดูหนุ่มสาวชาวบ้านรำคาญจิต
                           ไม่น่าคิดเข้าในกลอนอักษรสนอง
                            ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง
                            ไม่เหมือนน้องนึกน่าน้ำตากระเด็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นิราศเมืองแกลง

              นิราศเมืองแกลง                    นิราศเมืองแกลง สุนทรภู่แต่งเมื่อครั้งเดินทางไปเยี่ยมบิดาที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จั...